พระเจตนิพิฐ พุทฺธญาโณMar 6, 20241 min readพระเมธีวัชรบัณฑิต, ศ. ดร. เฉลย ทำไมต้องเช็กอิน ‘พุทธคยา’ แนะปฏิบัติมหาสติปัฏฐานพระเมธีวัชรบัณฑิต, ศ. ดร. เฉลย ทำไมต้องเช็กอิน ‘พุทธคยา’ แนะปฏิบัติมหาสติปัฏฐานเมื่อวันที่ 3 มีนาคม สืบเนื่องกรณีรัฐบาลไทยร่วมกับสาธารณรัฐอินเดีย อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุและพระอรหันตธาตุของพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะ จากอินเดีย มาประดิษฐานเป็นการชั่วคราว ณ ประเทศไทย เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 โดยได้อัญเชิญประดิษฐาน ณ มณฑลพิธีท้องสนามหลวง โดยวันนี้เป็นวันสุดท้ายผู้สื่อข่าวรายงานบรรยากาศภายในโดมสถานเอกอัครราชทูตอินเดียประจำประเทศไทยเมื่อเวลาราว 16.00 น. มีการจัดเวทีบรรยายหัวข้อ ‘จากพุทธภูมิ สู่สุวรรณภูมิ สู่สันติภูมิ’ โดย ศาสตราจารย์ ดร.พระเมธีวัชรบัณฑิต (หรรษา ธมฺมหาโส) ป.ธ.6 เจ้าอาวาสวัดใหม่ (ยายแป้น) กรุงเทพฯ ผู้อำนวยการวิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ศาสตราจารย์ ดร. พระเมธีวัชรบัณฑิต บรรยาย 2 ภาษา ทั้งอังกฤษและไทย โดยกล่าวถึงประสบการณ์พานิสิตวิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติเดินทางไปสัมผัสแดนพุทธภูมิ โดยระบุว่า เป็นการเดินทางไปยังประเทศอินเดียครั้งที่ 15 นับแต่เริ่มหลักสูตร ‘สันติศึกษา’ ซึ่งพัฒนาตลอดมา โดยมีพระพุทธเจ้าทรงเป็นเจ้าของหลักสูตร นับเป็นแรงบันดาลใจในการพาลูกศิษย์ไปรับพลังจากพระพุทธองค์ที่ทรงให้ความสำคัญกับสันติ ศาสตราจารย์ ดร. พระเมธีวัชรบัณฑิต กล่าวว่า เมื่อกล่าวถึงสถานที่ประสูติของพระพุทธเจ้า คนมักนึกถึงสวนลุมพินี เนปาล ซึ่งแท้จริงแล้วคือสถานที่ประสูติของเจ้าชายสิทธัตถะ แต่สถานที่ประสูติในฐานะพระพุทธเจ้าคือ ‘พุทธคยา’ อินเดีย “จากการสอบถามคนมากมายตลอด 15 ปี ทุกคนอยากเป็นพุทธคยา บริเวณใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์มีมนต์ขลังมากๆ ทุกสายตายังเพ่งมองไปยังหลวงพ่อพระพุทธเมตตา เพราะพระพุทธเจ้าทรงมีเมตตา มีความรักไม่จำกัด คนที่ไปกราบไม่ใช่เฉพาะชาวพุทธ แต่ยังมีศาสนาอื่นๆ ความเมตตา ความรักที่พระพุทธองค์ทรงมอบให้ไม่ใช่กับเฉพาะคนอินเดีย แต่มอบแก่คนทุกชาติภาษา ไม่มีขีดจำกัด“ทุกคนนั่งใต้ต้นศรีมหาโพธิ์ที่พระพุทธองค์ตรัสรู้ หลายคนนั่งสมาธิ อธิษฐานให้ใบโพธิ์หล่นลงมาที่ตัก และร้องไห้ด้วยความปีติ การบูชาสูงสุดคือปฏิบัติบูชา หากอยากรู้ อยากเห็น อยากรู้จักพระพุทธเจ้า ต้องผ่านการปฏิบัติเท่านั้น” ศาสตราจารย์ ดร.พระเมธีวัชรบัณฑิต กล่าว ศาสตราจารย์ ดร.พระเมธีวัชรบัณฑิต กล่าวด้วยว่า พุทธคยาคือสะดือของโลกชาวพุทธ ตามมิติพุทธศาสนา เป็นศูนย์กลางจิตวิญญาณและลมหายใจของพุทธศาสนา“การนั่งสมาธิวิปัสสนา 2 ชม.ทำให้เรามีความสุขที่สุด เพราะทำให้มีโอกาสสัมผัสลมหายใจของพระพุทธเจ้า นิสิต 95% ไม่เคยไปปฏิบัติใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ จิตทุกดวงพุ่งตรงไปยังพระพุทธเจ้า” ศาสตราจารย์ ดร.พระเมธีวัชรบัณฑิต กล่าว ศาสตราจารย์ ดร.พระเมธีวัชรบัณฑิต ยังกล่าวถึงการเดินทางไปยังวัดเวฬุวนาราม เมืองมคธ“พระพุทธเจ้าทรงเดินเท้าจากอุรุเวลาเสนานิคม พุทธคยา แต่เรานั่งรถบัสปรับอากาศ 2 ชม.ไปหาพระพุทธเจ้า และขึ้นเขาคิชฌกูฏ ทำไมพระพุทธเจ้าตรัสรู้ที่รัฐพิหารที่ยากจน แร้นแค้น ก็เพราะพระมหากรุณาของพระองค์ แม้จะทรงปรินิพพานไปแล้ว แต่พระพุทธเจ้าไม่เคยตาย หากอยากพบพระพุทธเจ้า เราต้องปฏิบัติมหาสติปัฏฐาน กราบพระพุทธเจ้าในเรือนใจของเราเอง” ศาสตราจารย์ ดร.พระเมธีวัชรบัณฑิต กล่าวแหล่งข่าวจากเว็บไซต์ https://www.matichon.co.th/education/religious-cultural/news_4453051
พระเมธีวัชรบัณฑิต, ศ. ดร. เฉลย ทำไมต้องเช็กอิน ‘พุทธคยา’ แนะปฏิบัติมหาสติปัฏฐานเมื่อวันที่ 3 มีนาคม สืบเนื่องกรณีรัฐบาลไทยร่วมกับสาธารณรัฐอินเดีย อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุและพระอรหันตธาตุของพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะ จากอินเดีย มาประดิษฐานเป็นการชั่วคราว ณ ประเทศไทย เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 โดยได้อัญเชิญประดิษฐาน ณ มณฑลพิธีท้องสนามหลวง โดยวันนี้เป็นวันสุดท้ายผู้สื่อข่าวรายงานบรรยากาศภายในโดมสถานเอกอัครราชทูตอินเดียประจำประเทศไทยเมื่อเวลาราว 16.00 น. มีการจัดเวทีบรรยายหัวข้อ ‘จากพุทธภูมิ สู่สุวรรณภูมิ สู่สันติภูมิ’ โดย ศาสตราจารย์ ดร.พระเมธีวัชรบัณฑิต (หรรษา ธมฺมหาโส) ป.ธ.6 เจ้าอาวาสวัดใหม่ (ยายแป้น) กรุงเทพฯ ผู้อำนวยการวิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ศาสตราจารย์ ดร. พระเมธีวัชรบัณฑิต บรรยาย 2 ภาษา ทั้งอังกฤษและไทย โดยกล่าวถึงประสบการณ์พานิสิตวิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติเดินทางไปสัมผัสแดนพุทธภูมิ โดยระบุว่า เป็นการเดินทางไปยังประเทศอินเดียครั้งที่ 15 นับแต่เริ่มหลักสูตร ‘สันติศึกษา’ ซึ่งพัฒนาตลอดมา โดยมีพระพุทธเจ้าทรงเป็นเจ้าของหลักสูตร นับเป็นแรงบันดาลใจในการพาลูกศิษย์ไปรับพลังจากพระพุทธองค์ที่ทรงให้ความสำคัญกับสันติ ศาสตราจารย์ ดร. พระเมธีวัชรบัณฑิต กล่าวว่า เมื่อกล่าวถึงสถานที่ประสูติของพระพุทธเจ้า คนมักนึกถึงสวนลุมพินี เนปาล ซึ่งแท้จริงแล้วคือสถานที่ประสูติของเจ้าชายสิทธัตถะ แต่สถานที่ประสูติในฐานะพระพุทธเจ้าคือ ‘พุทธคยา’ อินเดีย “จากการสอบถามคนมากมายตลอด 15 ปี ทุกคนอยากเป็นพุทธคยา บริเวณใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์มีมนต์ขลังมากๆ ทุกสายตายังเพ่งมองไปยังหลวงพ่อพระพุทธเมตตา เพราะพระพุทธเจ้าทรงมีเมตตา มีความรักไม่จำกัด คนที่ไปกราบไม่ใช่เฉพาะชาวพุทธ แต่ยังมีศาสนาอื่นๆ ความเมตตา ความรักที่พระพุทธองค์ทรงมอบให้ไม่ใช่กับเฉพาะคนอินเดีย แต่มอบแก่คนทุกชาติภาษา ไม่มีขีดจำกัด“ทุกคนนั่งใต้ต้นศรีมหาโพธิ์ที่พระพุทธองค์ตรัสรู้ หลายคนนั่งสมาธิ อธิษฐานให้ใบโพธิ์หล่นลงมาที่ตัก และร้องไห้ด้วยความปีติ การบูชาสูงสุดคือปฏิบัติบูชา หากอยากรู้ อยากเห็น อยากรู้จักพระพุทธเจ้า ต้องผ่านการปฏิบัติเท่านั้น” ศาสตราจารย์ ดร.พระเมธีวัชรบัณฑิต กล่าว ศาสตราจารย์ ดร.พระเมธีวัชรบัณฑิต กล่าวด้วยว่า พุทธคยาคือสะดือของโลกชาวพุทธ ตามมิติพุทธศาสนา เป็นศูนย์กลางจิตวิญญาณและลมหายใจของพุทธศาสนา“การนั่งสมาธิวิปัสสนา 2 ชม.ทำให้เรามีความสุขที่สุด เพราะทำให้มีโอกาสสัมผัสลมหายใจของพระพุทธเจ้า นิสิต 95% ไม่เคยไปปฏิบัติใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ จิตทุกดวงพุ่งตรงไปยังพระพุทธเจ้า” ศาสตราจารย์ ดร.พระเมธีวัชรบัณฑิต กล่าว ศาสตราจารย์ ดร.พระเมธีวัชรบัณฑิต ยังกล่าวถึงการเดินทางไปยังวัดเวฬุวนาราม เมืองมคธ“พระพุทธเจ้าทรงเดินเท้าจากอุรุเวลาเสนานิคม พุทธคยา แต่เรานั่งรถบัสปรับอากาศ 2 ชม.ไปหาพระพุทธเจ้า และขึ้นเขาคิชฌกูฏ ทำไมพระพุทธเจ้าตรัสรู้ที่รัฐพิหารที่ยากจน แร้นแค้น ก็เพราะพระมหากรุณาของพระองค์ แม้จะทรงปรินิพพานไปแล้ว แต่พระพุทธเจ้าไม่เคยตาย หากอยากพบพระพุทธเจ้า เราต้องปฏิบัติมหาสติปัฏฐาน กราบพระพุทธเจ้าในเรือนใจของเราเอง” ศาสตราจารย์ ดร.พระเมธีวัชรบัณฑิต กล่าวแหล่งข่าวจากเว็บไซต์ https://www.matichon.co.th/education/religious-cultural/news_4453051
หลักสูตรสันติศึกษา มจร ได้รับความเมตตายิ่งจากหลวงพ่อพระพรหมวัชรธีราจารย์, ศ.ดร. อธิการบดี มจร เป็นประธานทำบุญปริญญาในใส่ใจสันติสุข พร้อมพระมหาเถระผู้บริหาร มจร และ มมร
ประกาศรายชื่อผู้สำเร็จการศึกษา🍃ระดับบัณฑิตศึกษา ปริญญาโท-เอก ปีพุทธศักราช 2567 มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
Comments